FAQ

     ตอบคําถาม ด้านเทคนิคการใช้งานผลิตภัณฑ์ นิวแมติกและวาล์ว ส่วนของคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ เราได้รวบรวมเอาไว้เพิ่อความรวดเร็วในการตอบคำถามครับ และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ 

หน่วยวัด ที่จำเป็นในงานนิวแมติกส์

นิวตัน (สัญลักษณ์ : N)หรือในงานนิวแมติกอุปกรณ์จำพวก กระบอกลม(Air Cylinder),(Pneumatic Actuator)หัวขับลม ที่บอกเป็นแรงบิดเราจะเจอหน่วย นิวตัน/เมตร (สัญลักษณ์ : N/M)  ในวิชาฟิสิกส์ เป็นหน่วยเอสไอของแรง ชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นตามชื่อของเซอร์ไอแซกนิวตัน เพื่อระลึกถึงผลงานของเขาในสาขาฟิสิกส์

นิวตัน คือแรง 1 นิวตัน คือแรงที่ทำให้วัตถุมวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 1 เมตร / วินาที2 ในทิศของแรงนั้น

นิวตันเป็นหน่วยเอสไออนุพันธ์ ซึ่งประกอบขึ้นจากหน่วยเอสไอหลัก kg × m × s-2 ดังนั้นจะได้:

N เป็นหน่วยของแรง
Kg เป็นหน่วยของมวล

1 กิโลนิวตัน (KN) = 1000 N 

1 กิโลกรัม (kg)    = 9.81 N

1000 N              =  1000/9.81

                        =  101.9367992  กิโลกรัม (kg) 

1  (kg)               =  9.81 N 

1 N                    = 0.1019  (kg)

สรุปว่า  1 กิโลกรัม (kg)    = 9.81 N

 

https://th.wikipedia.org

http://th.bestconverter.org/unitconverter_length.php

หน่วยการวัดความยาวระบบเมตริก


ซึ่งมีหน่วยรากฐานความยาวเป็น    เมตร     เป็นหน่วยความยาวที่นิยมแพร่หลายเป็นสากล

                        10         มิลลิเมตร           เท่ากับ               1          เซนติเมตร

                        100       เซนติเมตร         เท่ากับ               1          เมตร

                        1,000    เมตร                 เท่ากับ               1          กิโลเมตร

หน่วยการวัดความยาวระบบอังกฤษ

                        12         นิ้ว                    เท่ากับ               1          ฟุต

                        3          ฟุต                    เท่ากับ               1          หลา

                        1,760    หลา                  เท่ากับ               1          ไมล์

หน่วยการวัดความยาวมาตราไทย

                        12         นิ้ว                    เท่ากับ               1          คืบ

                        2          คืบ                    เท่ากับ               1          ศอก

                        4          ศอก                  เท่ากับ               1          วา

                        20         วา                     เท่ากับ               1          เส้น

                        400       เส้น                  เท่ากับ               1          โยชน์   

   กำหนด           1          วา                     เท่ากับ               2          เมตร

หน่วยการวัดความยาวระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ)

                        1          นิ้ว                    เท่ากับ               2.54      เซนติเมตร

                        1          หลา                  เท่ากับ               0.9144   เมตร

                        1          ไมล์                  เท่ากับ               1.6039   กิโลเมตร

 

 

 

 

                        1 ตารางเมตร                  =          10,000 ตารางเซนติเมตร

                        1 ตารางกิโลเมตร             =          1,000,000 ตารางเมตร

                        1 ตารางฟุต                     =                      144 ตารางนิ้ว

                        9 ตารางฟุต                     =                      1 ตารางหลา

                        1 ไร่                              =                      4 งาน

                        1 งาน                            =                      100 ตารางวา

                        1 ไร่                              =                      400 ตารางวา

                        1 ตารางวา                      =                      4 ตารางเมตร

                        1 ตารางกิโลเมตร =                      625 ไร่

 

 

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบเมตริก

            1 ตารางเซนติเมตร    เท่ากับ               100       หรือ       ตารางมิลลิเมตร

            1 ตารางเมตร          เท่ากับ            10,000      หรือ       ตารางเซนติเมตร

            1 ตารางกิโลเมตร     เท่ากับ       1,000,000       หรือ       ตารางเมตร

 

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ

            1 ตารางฟุต                    เท่ากับ               144       หรือ       ตารางนิ้ว

            1 ตารางหลา                   เท่ากับ                  9       หรือ       ตารางฟุต

            1 เอเคอร์                       เท่ากับ               4,840    ตารางหลา

            1 ตารางไมล์                   เท่ากับ               640       เอเคอร์

หรือ      1 ตารางไมล์                   เท่ากับ               ตารางหลา

 

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบมาตราไทย

            100       ตารางวา เท่ากับ               1 งาน

            4          งาน       เท่ากับ               1 ไร่

หรือ      400       ตารางวา  เท่ากับ               1 ไร่

 

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก

            1          ตารางวา             เท่ากับ               4    ตารางเมตร

            1          งาน                  เท่ากับ             400    ตารางเมตร

หรือ       1          ไร่                    เท่ากับ          1,600    ตารางเมตร

            1          ตารางกิโลเมตร     เท่ากับ             625    ไร่

หน่วยการวัดปริมาตราในระบบเมตริก

            1 ลูกบาศก์เซนติเมตร                   เท่ากับ               1,000 หรือ  ลูกบาศก์มิลลิลิตร

            1 ลูกบาศก์เมตร                           เท่ากับ               1,000,000 หรือ ลูกบาศก์เซนติเมตร

            1  ลูกบาศก์เซนติเมตร                  เท่ากับ               1 มิลลิลิตร

            1 ลิตร                                        เท่ากับ               1,000 หรือ  มิลลิลิตร

            หรือ      1 ลิตร                            เท่ากับ               1,000 หรือ  ลูกบาศก์เซนติเมตร

            1,000 ลิตร                                  เท่ากับ               1 ลูกบาศก์เมตร

 

หน่วยการวัดปริมาตรในระบบอังกฤษ

            3 ช้อนชา                                   เท่ากับ               1 ช้อนโต๊ะ

            16 ช้อนโต๊ะ                               เท่ากับ               1 ถ้วยตวง

            1 ถ้วยตวง                                   เท่ากับ               8 ออนซ์

 

หน่วยการวัดปริมาตรในระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ)

            1 ช้อนชา                       เท่ากับ               5 ลูกบาศก์เซนติเมตร

            1 ถ้วยตวง                      เท่ากับ               240 ลูกบาศก์เซนติเมตร

 

หน่วยการวัดน้ำหนักในระบบเมตริก

            1 กรัม                         เท่ากับ               1,000 หรือ  มิลลิกรัม

            1 กิโลกรัม                     เท่ากับ               1,000 หรือ  กรัม

            1 เมตริกตัน (ตัน)            เท่ากับ               1,000 หรือ  กิโลกรัม

 

หน่วยการวัดน้ำหนักในระบบเมตริกเทียบกับระบบอังกฤษ (โดยประมาณ)

            1 กิโลกรัม                       เท่ากับ               2.2046 ปอนด์

            1 ปอนด์                          เท่ากับ               0.4536 กิโลกรัม

           

หน่วยการตวงระบบประเพณีไทยเทียบกับระบบเมตริก

            ข้าวสาร 1 ถัง                     มีน้ำหนัก                15 กิโลกรัม

            ข้าวสาร 1 กระสอบ               มีน้ำหนัก                 1 ถ้วยตวง

            1 เกวียน                           มีน้ำหนัก                 1,500 กิโลกรัม

 

 

 

 

ชนิดของกระแสไฟฟ้าแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

         1.ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) หรือ DC  เป็นกระแสไฟฟ้าที่ไหลหรือเดินทางเดียวตลอดเวลา  คือไหลจากขั้วบวกไปยังขั้วลบ  เช่น กระแสไฟฟ้าที่เกิดจาก แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าบางประเภท ฯลฯ ไฟฟ้ากระแสตรงยังนำมาใช้ในการเชื่อมโลหะ  การชุบ จะมีแรงดันที่นิยมใช้คือ 3V,5V,12V,24V,48VDC เป็นต้น

         2.ไฟฟ้ากระแสสลับ(Alternating Current) หรือ AC คือไฟฟ้าที่ไหลกลับไปมาตลอดเวลา จังหวะการไหลสลับไหมานี้ เรียกว่า ไซเกิ้ล (Cycle)  อัตราการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า ความถี่ (Frequency) และวัดความเร็วเป็น ไซเกิลต่อวินาที sine wave ac voltage ในประเทศไทยระบบที่ใช้ในบ้านเราใช้ระบบไฟฟ้า  AC220V 50Hz(3phase 4 wire)

ในวงจรไฟฟ้า ( Electric Circuit) จะมีองค์ประกอบสำคัญที่มีความสัมพันธ์กัน คือ

     1. แรงเคลื่อนไฟฟ้า ( Electromotive force) มีหน่วยวัดเป็น โวลท์ (Volt) 

     2. ความต้านทาน (Resistance) มีหน่วยวัดเป็น โอห์ม (Ohm) 

     3. กระแสไฟฟ้า ( Electric Current ) มีหน่วยวัดเป็น แอมแปร์ (ampere)


   George Simon Ohm ชาวเยอรมันเป็นผู้สรุปปรากฏการณ์ทางไฟฟ้า ซึ่งต่อมานิยมเรียกว่า กฏของโอห์ม ( Ohm’s law) โดยสามารถเขียนเป็นสมการ ได้ดังนี้

      I  =  E/R  ( กระแสไฟฟ้า = แรงดัน หารด้วย ความต้านทาน )

      E  = IR    ( แรงดัน = กระแสไฟฟ้า คูณด้วย ความต้านทาน )

      R =  E/I   ( ความต้านทาน = แรงดัน หารด้วย กระแสไฟฟ้า )



     E  = Voltage แรงดันหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า มีหน่วยเป็น Volt

     R  = Resistance  ความต้านทานของวงจร มีหน่วยเป็น Ohm 

     I  =  Current or Ampere กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น Ampere

ตัวอย่าง หลอดไฟฟ้าหลอดหนึ่งมีความต้านทาน 200hm   ต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า 220 V
จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดไฟฟ้านี้เท่าไร
วิธีทำจากโจทย์เมื่อ
E =220V , R =200Ohm
I  =  E/R  220/200

ตอบ I =1.10 A

ตัวอย่าง หลอดไฟฟ้าหลอดหนึ่งมีความต้านทาน 200hm  มีกระแสไหลในวงจร 1.10A
จะมีแรงดันหลอดไฟฟ้านี้เท่าไร
วิธีทำจากโจทย์เมื่อ
E =220V , R =200Ohm
E =  IR  1.10x200

ตอบ E = 220VAC

ตัวอย่าง หลอดไฟฟ้ามีแรงดันไฟฟ้า 220VAC  มีกระแสไหลในวงจร 1.10A
จงหาความต้านทานที่ใช้ในวงจร
วิธีทำจากโจทย์เมื่อ
E =220V , R =200Ohm
R =  E/I  220/1.10

ตอบ R = 200Ohm

กำลังไฟฟ้า (Electric Power)

  กำลังไฟฟ้า หมายถึง  การป้อนแรงดันไฟฟ้าเข้าไปในโหลด เพื่อทำให้เกิดพลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานแสงสว่าง พลังงานความร้อน พลังงานกล เป็นต้น กำลังไฟฟ้ามีหน่วยวัดเป็น Watt (W)

  P  =  EI
  P = กำลังไฟฟ้า
  E = แรงดันไฟฟ้า
  I = กระแสไฟฟ้า

ตัวอย่าง กระติกน้ำร้อน 220 โวลท์ จ่ายกระแสให้กับมอเตอร์ 2แอมแปร์  ต้องการทราบว่ากระติกนำ้ร้อนตัวนี้ใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไรเท่าใด

  P    =  E x I
  = 220 V x 2A
  ตอบ = 440 W

 

อ่านข้อมูลเพื่มเติมได้ที่

https://en.wikipedia.org/wiki/Book:Electrical_Engineering

More information from the unit converter
How many kg-cm in 1 N-m? The answer is 10.197162129779.
We assume you are converting between kilogram centimeter and newton-meter.
You can view more details on each measurement unit:
kg-cm or N-m
The SI derived unit for torque is the newton meter.
1 kg-cm is equal to 0.0980665 newton meter.
Note that rounding errors may occur, so always check the results.
Use this page to learn how to convert between kilogram centimeters and newton meters.
Type in your own numbers in the form to convert the units!


Quick conversion chart of kg-cm to N-m
1 kg-cm to N-m = 0.09807 N-m

10 kg-cm to N-m = 0.98067 N-m

20 kg-cm to N-m = 1.96133 N-m

30 kg-cm to N-m = 2.942 N-m

40 kg-cm to N-m = 3.92266 N-m

50 kg-cm to N-m = 4.90333 N-m

100 kg-cm to N-m = 9.80665 N-m

200 kg-cm to N-m = 19.6133 N-m

 

https://www.convertunits.com/from/kg-cm/to/N-m

วาล์วที่ใช้ในระบบน้ำ มีอะไรบ้าง

วาล์วเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบที่ใช้ในการเปิดปิด น้ำ,แก๊ช,หรือของเหลวประเภทต่างๆ และการเลือกใช้วาล์วก็มีความสำคัญเป็นอย้่างมากและเราควรที่จะ เลือกใช้วาล์วให้เหมาะสม กับลักษณะหน้าหน้าที่ในแต่ละแบบ
1.ทำหน้าที่ในการเปิด/ปิด
-บอลวาล์ว (Ball Valve)
-ประตูนำ้,วาล์วแบบใบมีด (Gate Valve)
-ปลั๊กวาล์ว (Plug Valve)

2.ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหล
-วาล์วปีกผีเสือ (Butterfly Valve)
-โกลบวาล์ว (Globe Valve)
-ไดอะแฟรมวาล์ว (Diaphragm Valve)

3.ทำหน้าที่ในการกันกลับ
-เช็ควาล์ว (Check Valve)

ตัววาล์วหลักๆก็จะมีประมาณนี้ แต่ก็ยังมีวาล์วเช่น Solenoid valve,Control valve,Safety Valve, จะมีคุณสมบัติและรายละเอียดอีกพอสมควรและจะกล่าวถึงในบทความต่อไป............................

บอลวาล์ว (Ball Valve) เบื้องต้น

     บอลวาล์ว Ball Valve ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากในระบบการเปิด/ปิด ในโรงงานอุตสาหกรรม และไม่ใช่เพียงแต่ในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ตามบ้านที่อยู่อาศัย อพาร์ทเม้นท์ คอนโด นั้นก็คือ ก๊อกน้ำนั้นเอง
     Ball valve จะเป็นการเปิด/ปิด แบบ Quarter Turn Valve หรือ เปิด/ปิด 90องศา หรือ เปิด/ปิด 1ใน4 ของวงกลม โครงสร้างของ ball valve จะใช้ลูกบอลโลหะมาเจาะรูตลอดแกน ด้วยโครงสร้างของ ball valve จะมี 2ลักษณะด้วยกันคือ
1.แบบฟูลพอร์ต (fullport)
2.แบบรีดิ้วพอร์ต (reduced port)
    และตัวบอลวาล์วเองก็ยังมีทั้งแบบเกลียว หรือที่เรียกกันเป็นหุน 1หุน 2หุน 3หุน 4 หุน 6 หุน 1นิ้ว 2นิ้ว ไปจนถึงเป็น  6นิ้ว หรืด อีกแบบคือแบบหน้าแปลน ซึ่งหน้าแปลนเองนั้นมีมาตรฐานอีกค่อนข้างเยอะ Flange เช่น Jis10K/20K PN/10/20/16 DIN/ANSI เป็นต้น
   และบอลวาล์วก๊ยังมีแบบ 1ชิ้น 2ชิ้น 3ชิ้น แบบ 3 ทางT port/L port อีกด้วย

   วัสดุที่ใช้ทำ ball valve มีหลายแบบเช่น ทองเหลือง.เหล็กหล่อ,เหล็กเหนียว,สแตนเลสสตีล เป็นต้น
     -ทองเหลือง(Brass)
นิยมใช้ผลิต บอลวาล์ว size เล็กๆเช่น 1หุน 2หุน 3หุน 4หุน จนถึง 1นิ้วเป็นต้น หรือที่เราใช้กันอยู่ทุกวันคือ ก๊อกน้ำที่บ้านของเรานั้นเอง
     -เหล็กหล่อ/เหล็กเหลียว(Cast Iron/Cast Steel/Carbon Steel) 
นิยมใช้ผลิต บอลวาล์ว ตั่งแต่ sizeเล็กๆจนถึง sizeใหญ่ๆ จะพบทั้งแบบเกลียวและแบบหน้าแปลน ( flange ball valve )ในงานที่มีอุณหภูมิสูงๆนิยม ใช้ Carbonผสมเข้าไป เรียกว่า Carbon steel อีกด้วย
    -เหล็กกล้าไร้สนิม สแตนเลสสตีล ( Stainless Steel ) 
นิยมใช้ผลิต บอลวาล์ว ตั่งแต่ sizeเล็กๆจนถึง sizeใหญ่ๆ จะพบทั้งแบบเกลียวและแบบหน้าแปลน ( flange ball valve ) ข้อดีของ Stainless Steel ก็คือ ไม่เป็นสนิมนันเอง grade ของ Stainlessที่นิยมนำมาใช้ผลิตนั้นก็ยังมีมาตรฐานอีกมากมายเช่น SS304/SS316/SS316L เป็นต้น และถ้าเป็นงาน Food grade จะถูกบังคับด้วย  Stainless Steel 316/316L อีกด้วย
    - PVC หรือ uPVC (Unplasticized Polyvinyl Chloride)
หรือ บ้านๆนิยมเรียกว่าพลาสติกครับ วัสดุประเภทนี้สามารถทนต่อการกัดกร่อน น้ำหนักเบาราคาถูกติดตั้งง่าย และนิยมใช้กับระบบท่อประปาอีกด้วยครับ..... 

ประตูน้ำ หรือ Gate valve เป็นวาล์วที่ใช้กันค่อนข้างเยอะ ประตูน้ำควรที่ใช้เปิด/ปิดให้กว้างที่สุด ไม่ควรที่จะเปิดปิด ครึ่งๆกลางๆเพราะจะทำให้วาล์วเกิดการ เสียดสีอย่างหนัก

ปลั๊กวาล์ว (Plug Valve) คือ

บัตเตอร์ฟลายวาล์วหรือวาล์วปีกผีเสื้อ วาล์วเปิดปิดน้ำ ใช้ในอุตสาหกรรมหรือระบบอาคาร เช่น อุตสาหกรรมอาหาร น้ำประปา โรงงานผลิตชินส่วนต่างๆ ตึกอาคาร ในการส่งจ่ายระบบน้ำ ใน การอุปโภคและบริโภค

วาล์วปีกผีเสื้อ หรือ Butterfly Valve คืออะไร

วัสดุคือ เหล็กหล่อ+พ่นสีอีพ็อกซี่ สีฟ้า สวยงาม

Body Cast Iron,+EPOXY COATING

Universal flange butterfly valve ใส่หรือติดตั้งได้เกือบจะทุกมาตรฐานครับ เช่นติดตั้งได้กับหน้าแปลนแบบ (DN,ANSI150,JIS10K)

Pressure gauge

     อุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันบรรยากาศที่เกิดขึ้นในระบบท่อ หรือ ในพื้นที่ที่เก็บแรงดันไว้เราสามารถอ่านค่าแรงดันบรรยการได้จากเครื่องมือหลายชนิดเช่น บาโรมิเตอร์,แมนโนมิเตอร์หรือเกจวัดความดัน

Pressure gauge แบ่งได้ตามประเภทของย่านวัดออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ
1 Vacuum gauge ช่วงติดลบหรือสูญญากาศ เช่น (-760mmhg-0bar)
2 Pressure gauge ช่วงแรงดันปกติ เช่น (0-10Bar)(0-140psi)
3 Compond gauge ช่วงติดลบหรือสูญญากาศ ถึง ช่วงแรงดันปกติ เช่น(-760mmhg-5Bar)

     หรืออาจแบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้ผลิต ,ขนาดหน้าปัดของตัวเรือน,ขนาดความโตของเกลียว,วัสดุที่ใช้ทำเกลียว เป็นต้น เช่น (pressure gauge rang 0-25 Bar (0-350 psi)หน้าปัด 2.5นิ้ว เกลียวทองเหลืองออกล่าง 2หุน)

อ่านข้อมูลเพื่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Pressure_measurement

 

ที่นิยมใช้และเจอบ่อยๆจะมี
1.Bar บาร์ (ระบบ SI)
2.Kgf/cm2 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร(ระบบแมติก) คนไทยเรานิยมเรียกว่า กิโล เฉยๆครับ
3.PSI ปอนด์ต่อตารางนิ้ว(ระบบอังกฤษ)
4.mmg มิลลิเมตรปรอท
5.mmH2o มิลลิเมตรน้ำ
6.pa ( pascal ระบบแมติก)ส่วนใหญ่จะพบเป็น kpa หรือ mpa

อ่านข้อมูลเพื่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Pressure_measurement

 

นั้นก็คือ "Glycerine" นี่เอง กลีเซอรีนเป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืดโดยได้มาจากน้ำมันจากพืชเช่นจากปาล์ม เป็นต้น กลีเซอร์รีนสามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ และเป็นสารที่ไม่มีผิษ ด้วยคุณสมบัติดั่งกล่าว กลีเซอร์ลีนจึงนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเครื่องสำอาง สบู่ ยาสีฟันอื่นๆอีกมากมาย ยังช่วยในการหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์จากการเติม Glycerine ใน Pressure gauge
1.ความหนืดของ Glycerine จะช่วยดูดซับแรงดันกระชากจากของเหลวหรืออากาศที่เราวัด(shock pressure) ได้เป็นอย่างดี
2.ประโยชน์ของความหนืดใน Glycerine ที่สำคัญอีกอย่างคือ ป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายนอก เช่นการตืดตั่ง pressure gauge บนเครื่องจักรที่ทำงานตลอตเวลา
3.Glycerine ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายใน pressure gaugeให้ทำงานได้อย่างยาวนานมากขึ้น
4.Glycerine ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการสั่น
5.Glycerine ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
5.Glycerine ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเลี่ยนแปลงของความดันในจุดที่เราวัด

เลือกได้จาก
1.เลือกย่านวัดความดันตามที่เราใช้งาน เช่น ต้องการ Rang 0-10ฺbar เป็นต้น
2.ตามขนาดหน้าปัดเช่น 2.5นิ้ว 4นิ้ว 6นิ้ว 8นิ้ว 10นิ้ว
3.ต้องการเกลียวออกหลัง หรือ เกลียวออกล่าง มีทั้ง NPT และ BSP
4.วัสดุที่ทำเกลียว Nuonafima จะมีให้เลือกอยู่2แบบคือ เกลียวทองเหลือง และ สแตนเลส
(ทุกตัวจะมีช่องไว้สำหรับเติม Glycerine ทุกตัวครับ)

ได้ครับแต่ถ้าเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ เช่นงาน steam water heaterที่มีอุณหภูมิถีง 180 องศาเซลเซียสหรือที่เราเรียกว่างาน สตีม นันเอง เราต้องมีอุปกรณ์เสริมนิดหน่อยครับ งานนี่พระเอกของเราคือ Syphon นันเอง
Syphon จะทำหน้าที่ ช่วยลดอุณหภูมิก่อนเข้า pressure gaugeของเราครับ

     งาน Food Grade และงานอุสาหกรรมที่มีการกัดกร่อนสูง อุตสาหกรรมเคมี หรือวัดความดันที่มีความหนืดสูง หรือสารที่มีการตกผลึกสูง ตัว Diaphram มาต่อเข้ากับ Pressure gauge 
ประโยชน์คือ 
1.ป้องกันสารดังกล่าวเข้าไปทำอันตรายกับ pressure gauge
2.ป้องกันการปนเปื้อน จากชิ้นส่วนภายในหรือคราบสนิมภายในตัว pressure gauge ปะปนมากับของเหลวที่เราวัด
 Diaphram วัสดุที่ใช้จะเป็น สแตนเลส316

Diaphragm pressure gauge คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แยกของเหลวที่เราต้องการวัดความดัน ออกจากตัว pressuregauge 

Snubber จะทำหน้าที่
ป้องกันแรงดันกระชากได้ส่วนนึง โครงสร้างของ Snubber จะเป็นข้อต่อและจะมีตระแกรงเล็กๆเป็นรูพรุน รูพรุนจะทำหน้าที่ค่อยๆปล่อยแรงดันออกมา ก่อนจะเข้าสู่ pressure gauge 
Needle Valve จะทำหน้าที่
ตัวโครงสร้างจะมีลักษณะเป็นเข็ม ใช้ควบคุมอัตราการไหล ซึ่งจะมีความเทียงตรงมากในกรณีนำมาต่อร่วมกับ pressure gauge ก็จะช่วยควาบคุมแรงดันกระชาก ก่อนเข้า pressuer gauge นันเอง 

ซฟ่อน ในงานเกจวัดความดันมีไว้เพื่อจุดประสงค์ คือ 

   -ช่วยลดความร้อน หรือลดอุณหภูมิ ที่เกิดจากของเหลวที่เราวัด(สิ่งที่เราวัด) ก่อนเข้าสู่เกจวัดแรงดัน

   -ช่วยลดแรงดันกระชาก ก่อนเข้าสู่เกจวัดแรงดัน

   -ช่วยแยกของเหลวหรือไอน้ำ ก่อนเข้าสู่เกจวัดแรงดัน

อ่านข้อมูลเพื่มเติมได้ที่ https://appmeas.co.uk/resources/pressure-measurement-notes/what-is-a-pressure-gauge-siphon/

Pressure gauge siphons are used to protect the pressure
gauge from the effect of hot pressure media such as steam
and also to reduce the effect of rapid pressure surges. The
pressure medium forms a condensate and is collected
inside the coil or pigtail portion of the siphon. The condensate
prevents the hot media from coming in direct contact
with the pressure instrument. When the siphon is first
installed, it should be filled with water or any other suitable
separating liquid.
Forms
Pigtail siphon
Coil Siphon

ในระบบ การต่อท่อหรือการทำเกลียวแบบต่างๆค่อนข้างมีมาตรฐานอยู่หลายอย่าง และแต่ละอย่างนั้นเราสามารถพบเจอได้ในการทำงาน แต่ในระบบการวัดความความดัน หรือเกลียว Pressure gauge นั้นเรา จะเจอเกลียวที่เรียกว่า NPT และ ฺBSPP อยู่บ่อยครั้ง

1 NPT คือ เกลียว (National Pipe Thread Taper) (เกลียวเอียง) เป็นเกลียวมาตรฐานอเมริกา  เช่น ½”NPT.

2 BSPP คือ เกลียว (British Standard Pipe-Parallel) (Straight) (เกลียวตรง) เป็นเกลียวมาตรฐานของอังกฤษ เช่น G ¾”

 

ดูลายละเอียดเพื่มเติมได้ที่

บทความเรื่อง เกลียว NPT ,NPS , BSPT ,BSPP คืออะไร 

ข้อต่อลม CONEK

แบ่งวัสดุเป็น 2ส่วนครับ

1 ส่วนที่เป็นโลหะะเงาๆด้านนอกครับจะผลิตด้วย ทองเหลืองชุบนิเกิล (nickel plated brass)  การ Nickel electroplating เป็นการชุบโลหะแบบหนึ่งที่ทำให้ไม่เกิดสนิมเป็นวัสดุยืดอายุการใช้งานได้เป็นอย่างดี

https://en.wikipedia.org/wiki/Nickel_electroplating

2 ส่วนที่เป็นสีดำ จะเป็น พลาสติก Polybutylene Terephthalate (PBT)เป็นพอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติกที่ใช้เป็นฉนวนในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นพอลิเมอร์ผลึกเทอร์โมพลาสติกและโพลีเอสเตอร์ชนิดหนึ่ง PBT มีความทนทานต่อตัวทำละลายที่หดตัวน้อยมากในระหว่างการขึ้นรูปมีความแข็งแรงทางกลทนความร้อนสูง 

https://en.wikipedia.org/wiki/Polybutylene_terephthalate


คนไทยเรานิยมเรียกว่า ข้อต่อลมแบบสวมเร็ว หรือเรียกว่า one touch tube fitting

1. ที่มีสต๊อกอยู่ในประเทศไทยเรา ใช้ได้กับ สายลมขนาด เป็นมิลลิเมตร( Outer x Internal Diameter (mm) )4x2.5, 6x4, 8x5, 10x6.5, 12x8, 16x13 ครับ

2. ส่วนสายหุนอาจจะต้องสั่งซื้อเป็นกรณีครับ หรือ Pre-Order ครับ

1. มีสต๊อก คือ M5x0.8,M6x1.0(มีเฉพาะ สายลม 4mm) และ1หุน,2หุน,3หุน,4หุน (BSPT) ครับ

2.ส่วนพวกเกลียว NPTกับ BSPP เป็นรายการ pre-order ครับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้