ส่วนประกอบของ กระบอกนิวแมติกส์ Air Cylinder
กระบอกสูบลม จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมอัดให้เป็นพลังงานกล ลักษณะในการเคลื่อนที่เป็นการเคลื่อนที่ในแนวตรง ในงานอุตสาหกรรมนนิยมในกระบอกลมเป็นอย่างมากเนื่องด้วยการดูแลที่ง่าย ราคาถูก ทนทาน และในทางกลับกันในระบบไฟฟ้าที่จะทำงานเหมือนกัน มีความยุ่งยากในการควบคุม มีราคาแพง และปัญหาของช่วงชัก หรือ ความยาวแกนจำกัด ดังนั้นในอุตสาหกรรม กระบอกลม หรือ กระบอกสูบนิวเมติกส์พัฒนาใช้ในงานจนถึงปัจจุบัน ก็ได้ในบทความนี้ จะมาโครงสร้างภายในว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง ฝาหน้า ฝาหลัง ก้านสูบ ลูกสูบ กระบอกอลูมิเนียม และ ระบบซีลจะมี ซีลลูกสูบ (Piston seals), ซีลแกน (Rod seals), ซีลกันฝุ่น (Wipers), ซีลคุชชั่น หรือซีลกันกระแทก (Cushion seals) และ เทปกันสึก หรือซีลประคอง (Wear rings)
กระบอกลม รุ่น SC (Standard Air Cylinder) เป็นกระบอกสูบ, SC32x100S หรือมีความโตขนาด 32mm ช่วงชักยาว 100 mm
การวัดความยามของช่วงชัก หรือ (Air cylinder stroke length) ในรูปจะทำการใช้ปากกามาร์คกิ้ง ที่แกนหดสุดและเราจับยืดแกนออกในรูป จะใช้เวอร์เนียร์ หรือ ตลับเมตรวัดความยาวของตัวกระบอกลม ในรูปวัดได้ 100 มิลลิเมตร
ถอดเสารั้งจะยึดออกทั้งหมด ในกรณีนี้โครงสร้างจะมีเสาอยู่ 4 ชิ้นครับ
ถอดฝาหน้าและฝาหลัง
ถอดฝาหน้ากระบอกลมออกมาครับ
ถอดแกน หรือ ROD กระบอกออกมาจะพบกับลูกสูบ
อุปกรณ์ภายใน จะประกอบไปด้วย 1. ท่ออลูมิเนียม 2. ฝากระบอกหน้า 3.ฝากระบอกหลัง 4.เสารั้ง
กระบอกลมส่วนใหญ่จะมี แม่เหล็กติดอยู่เพื่อจะทำงานร่วมกัน reed switch กระบอกลม
แม่เหล็ก ในกระบอกลม (Pneumatic Cylinder) จะมีลักษณะแบบประกบสองชิ้น
รูป ซีลประคองลูกสูบ ซีลเบกาไลท์ (Bakelite) ใส่เพื่อช่วยประคองให้ ซีลลูกสูบ ทำงานได้ดีขึ้น
ซีลลูกสูบ นิวเมติกส์ (Piston seals) 2 ตัว
ซีลคุชชั่น (Cushion seals)
โอริ่ง O-ring ฝาหน้า
ซีลกันฝุ่น (Wipers)
ซีลกันฝุ่น (Wipers) ฝาหน้า
ซีลกันฝุ่น (Wipers) ฝาหลัง
Air cylinder ชิ้นส่วนต่างๆอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละ ยี้ห้อ แต่ละรุ่น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆกันครับ